วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

กาละแมโบราณ นวัตกรรมของคนเชียงคำ




ประวัติความเป็นมา    
          กะละแมโบราณในที่นี้ เป็นสูตรของชาวไทลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นขนมหวานที่มีความเป็น   มาแต่ยาวนาน  โดยมีที่มาดังนี้
          เนื่องด้วยประเพณีงานบวช งานบุญ ของชาวไทลื้อสมัยโบราณ  มักนิยมทำขนมปาด ซึ่งเป็นขนมลักษณะ คล้ายกับขนมชั้น  แต่จะนิ่มกว่า  ซึ่งเป็นขนมที่นิยม ของชาวไทลื้อ แต่ขนมปาดเก็บรักษาได้ไม่นาน แค่ 2 วัน ก็เน่าเสีย ต่อมา เมื่อมีงานประเพณีสืบสานตำนานไทลื้อ กลุ่มกะละแมบ้านดอนไชย หมู่ 5 ตำบลหย่วน  อำเภอเชียงคำจึงได้รวมกลุ่มกันประมาณ 40 กว่าคน ตั้งกลุ่มทำขนมปาด และกวนขนมปาดขายในงานดังกล่าว ซึ่งขายได้ดีมาก และแขกที่มาจากต่างจังหวัด ซื้อเป็นของฝากกลับบ้าน แต่เก็บได้ไม่นาน เมื่อเสร็จจากงานสืบสานตำนานไทลื้อ  ทางกลุ่มจึงได้ปรึกษากันเพื่อหาวิธีการที่จะเก็บขนมปาดให้มีอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้น โดยไม่พึ่งสารเคมี ต่อมากลุ่มฯ ได้ส่งตัวแทนไปอบรมวิธีการทำขนมต่าง ๆ ที่ YMCA เชียงราย และกลับมาช่วยกันหาวิธีทำขนมกวน ซึ่งมีลักษณะคล้ายขนมปาด โดยทำ “กะละแมโบราณ” ขึ้น ซึ่งใช้วิธีกวนเหมือนกัน ส่วนผสมคล้ายกัน ต่างกันตรงที่ขนมปาดใช้แป้งข้าวเจ้า กะละแมโบราณใช้แป้งข้าวเหนียว  ขนมปาดมีสีแดงจากน้ำอ้อย กะละแมมีสีดำ โดยใช้กากมะพร้าวเผา การทำกะละแมโบราณ เน้นย้ำที่ความหอมจากใบตอง และกรรมวิธีแบบโบราณ


credit by http://www.cddck.com/index.php/2010-07-21-09-21-17

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์

ประวัติความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์

          คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว

          จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
          หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง  

โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค
ยุคที่  1 พ.ศ. 2489 - 2501
         
          เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี



จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ


ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
  • ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
  • ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
  • เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน
ยุคที่ 2 พ.ศ. 2502 - 2506
         
          มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
  • ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
  • เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
  • มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
  • สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
  • เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
ยุคที่ 3 พ.ศ. 2507 - 2512


          คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก
          นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)


ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
  • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
  • ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
  • ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
ยุคที่ 4 พ.ศ. 2513 - 2532


          เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้


ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
  • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
  • มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)
ยุคที่ 5 พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน


          ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
          โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล
องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)
คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น
3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น

credit by http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/menu2.htm

แผนการสอน 1 ชั่วโมง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์                                                   รายวิชา วิทยาศาสตร์ ( ว14101 )
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4                     ภาคเรียนที่ 2                   ปีการศึกษา 2553
ชื่อหน่วยการเรียนรู้  การดำรงชีวิตของพืช  เรื่อง โครงสร้างภายนอกของพืช    เวลา 2 ชั่วโมง
ชื่อครูผู้สอน  นางสาวภูมิใจ     กลับมา   โรงเรียนบ้านปัวศรีพรม
…………………………………………………………………
มาตรฐานการเรียนรู้
              มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต

ตัวชี้วัด
                1.1 ป.4/1   ทดลองและอธิบายหน้าที่ ของท่อลำเลียงและปากใบของพืช

สาระสำคัญ
                โครงสร้างภายนอกของพืช หน้าที่ ความสำคัญของส่วนประกอบพืช

จุดประสงค์
                1.   นักเรียนสามารถบอกโครงสร้างภายนอกของพืชได้
                2.   นักเรียนสามารถบอกหน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของพืชได้
                3.   นักเรียนสามารถวาดภาพ และเขียนอธิบายโครงสร้างภายนอกของพืชได้
                4.   นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้ ช่างสังเกต

สาระการเรียนรู้
                1.  ความรู้
                                พืชมีโครงสร้างภายนอก  ได้แก่ ราก ลำต้น กิ่ง ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งแต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่จะสัมพันธ์กันเป็นระบบ
                2.  ด้านทักษะกระบวนการ
                1)    ทักษะการสังเกต
                2)    ทักษะการอภิปราย
                3)    ทักษะการวาดภาพและระบายสี

กิจกรรมการเรียนรู้  ( ใช้รูปแบบการสอน CIPPA MODEL ) 
ขั้นนำ  5  นาที
ขั้นที่  1  ทบทวนความรู้เดิม
ครูนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียนโดยสอน  สอนร้องเพลง กิ่ง ก้าน ใบ
เพลง กิ่ง ก้าน ใบ
กิ่ง  ก้าน  ใบ ชะ           ชะ ใบก้านกิ่ง  (ซ้ำ )
ฝนตกลมแรงจริงๆ                 ชะ ชะ  กิ่งก้านใบ
จากนั้นครูจึงถามคำถาม เพื่อทบทวนความรู้เดิม
                คำถาม  จากเพลงที่ฟังนักเรียนคิดว่ามันจะเกี่ยวกับอะไร
ตอบ ส่วนประกอบของพืช
คำถาม โครงสร้างภายนอกของพืช มีอะไรบ้าง
ตอบ กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล เมล็ด ลำต้น
เป็นต้น
หลังจากทบทวนความรู้เดิมพอสมควรแล้ว จึงแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน “สำหรับวันนี้ครูจะพาไปรู้จักกับโครงสร้างภายนอก และหน้าที่ของพืช”

ขั้นสอน 40 นาที
ขั้นที่ 2  แสวงหาความรู้ใหม่
แบ่งกลุ่มนักเรียน  กลุ่มละ 6 -7 คน ช่วยกันต่อภาพต้นไม้ โดยนำภาพส่วนประกอบของต้นไม้   ตัดเป็นชิ้นส่วน แล้วนำมาประกอบกัน จนกระทั่งกลายเป็นภาพโครงสร้างต้นไม้ที่สมบูรณ์แบบ


ขั้นที่ 3  การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล / ความรู้ใหม่และเชื่อมความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
 ครูอธิบายโครงสร้างภายนอกของพืช ให้นักเรียนฟัง จากนั้นให้นักเรียนทำใบงานชิ้นที่ 1 พอเสร็จแล้วให้นักเรียนช่วยกันสำรวจต้นไม้ และพืชโดยเลือกมากลุ่มละ  1  ชนิด  จากนั้นให้นักเรียนสังเกตว่าต้นไม้มีโครงสร้างภายนอกอะไรบ้าง  บันทึกผลโดยการวาดภาพและเขียนเส้นชี้ระบุโครงสร้างภายนอกของพืช
 ครูนำต้นกระสังมาให้นักเรียนดู จากนั้นทำการสาธิต เรื่อง การดูดน้ำของราก โดยนำต้นกระสังแช่ไว้ในน้ำสี จากนั้น ให้นักเรียนสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อนำเข้าสู่การอธิบายหน้าที่โครงสร้างของพืช
-   ครูอธิบายในส่วนของหน้าที่โครงสร้างของพืช   โดยที่
ราก        ทำหน้าที่               ลำเลียงแร่ธาตุ  น้ำ  และ  อาหารไปยังส่วนต่างๆของพืช 
                                                นอกจากนี้ยังทำหน้าที่  ในการยึดลำต้น
ลำต้น     ทำหน้าที่               ลำเลียงธาตุอาหารและน้ำต่อจากราก  เพื่อไปยังส่วนต่างๆของพืช
ใบ          ทำหน้าที่               สร้างอาหาร  คายน้ำ  และสังเคราะห์แสง
ดอก       ทำหน้าที่               ล่อแมลง
ผล          ทำหน้าที่               ห่อหุ้มเมล็ด
เมล็ด      ทำหน้าที่               ขยายพันธุ์

ขั้นที่ 4  ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้  ความเข้าใจกับกลุ่ม
-                   ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการสำรวจ  และภาพวาด  หน้าชั้นเรียน
-                   ให้นักเรียนอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างภายนอกของพืช  โดยครูถามคำถามดังต่อไปนี้
คำถาม
-                   บริเวณที่สำรวจมีต้นไม้ชนิดใดบ้าง
-                   ต้นไม้แต่ละชนิดมีโครงสร้างภายนอกเหมือนกันหรือไม่
-                   ต้นไม้แต่ละชนิดมีโครงสร้างภายนอก  ได้แก่อะไรบ้าง  และมีหน้าที่อะไร
จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับพืช  มีโครงสร้างภายนอก  ได้แก่  ราก  ใบ  ลำต้น  ดอก  ผล  และเมล็ด

ขั้นสรุป 5 นาที
                ขั้นที่ 5  ขั้นสรุปและจัดระเบียบความรู้
                นักเรียนและครูร่วมกันสรุป  และอธิบายเนื้อหาที่เรียนไป 

ขั้นที่ 6 การปฏิบัติและ/หรือการแสดงผลงาน
ให้นักเรียนนำผลงานมาติดแสดงหน้าห้องเรียน

ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
นักเรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ส่วนประกอบต่างๆของพืชบอกกับบุคคลอื่นๆได้ เช่น
นำเมล็ดพันธุ์ของพืชบางชนิดไปขยายพันธุ์พืชได้   

สื่อ อุปกรณ์
                สื่อ
                                1.   ภาพต่อโครงสร้างภายนอกของพืช
                                2.   รูปภาพโครงสร้างของพืช
                อุปกรณ์
                                1.   ต้นกระสัง     1   ต้น
                                2.   สีผสมอาหารสีใดก็ได้
                                3.   แก้วน้ำ           1  ใบ
                                4.   น้ำ                   1   แก้ว

ชิ้นงาน
                1.   ใบงานที่ 1  เรื่อง โครงสร้างภายนอกของพืช
                2.   ใบงานที่ 2  เรื่อง ต้นไม้ของฉัน

ประเมินผล

รายการประเมิน
วิธีการประเมิน
เครื่องมือการประเมิน
1.   นักเรียนสามารถบอกโครงสร้างภายนอกของพืชได้
2.   นักเรียนสามารถบอกหน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของพืชได้
3.   นักเรียนสามารถวาดภาพ และเขียนอธิบายโครงสร้างภายนอกของพืชได้
4.   นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้ ช่างสังเกต
1.   ตรวจใบงานที่ 1 โครงสร้างภายนอกของพืช
2.   ตรวจใบงานที่ 2 ต้นไม้ของฉัน
3   สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1.   ใบงานที่ 1 โครงสร้างภายนอกของพืช
2.   ใบงานที่ 2 ต้นไม้ของฉัน
3.   แบบบันทึกการสังเกต


เกณฑ์การประเมิน
เกณฑ์การประเมินใบงานที่ 1 เรื่องโครงสร้างภายนอกของพืช


รายการประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
4
3
2
1
บอกโครงสร้างภายนอกของพืชได้
นักเรียนสามารถสร้างภายนอกของพืชได้ครบ 7 อย่าง
นักเรียนสามารถบอกโครงสร้างภายนอกของพืช ได้ตั้งแต่ 5-6 อย่าง
นักเรียนสามารถบอกโครงสร้างภายนอกของพืชได้ตั้งแต่ 3-4 อย่าง
นักเรียนสามารถบอกโครงสร้างภายนอกของพืชได้น้อยกว่า 3 อย่าง


เกณฑ์การประเมิน/ระดับคุณภาพ
                                คะแนน                 4            หมายถึง                ดีมาก
                คะแนน                 3            หมายถึง                ดี
                คะแนน                 2            หมายถึง                พอใช้
                คะแนน                 1            หมายถึง                ปรับปรุง
เกณฑ์การผ่าน
ได้ระดับคุณภาพพอใช้ขึ้นไป

 
เกณฑ์การประเมินใบงานที่ 2 ต้นไม้ของฉันและภาระงาน การพูดนำเสนอผลงาน


ประเด็น
การประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
น้ำหนัก
รวมคะแนน
4
3
2
1
1. ความสมบูรณ์ของชิ้นงาน
ชิ้นงานมีรายละเอียดครอบคลุมเนื้อหาที่เรียนสมบูรณ์
ชิ้นงานมีรายละเอียดครอบคลุมเนื้อหาที่เรียนเป็นส่วนใหญ่
ชิ้นงานมีรายละเอียดครอบคลุมเนื้อหาที่เรียนพอสมควร
ชิ้นงานมีรายละเอียดครอบคลุมเนื้อหาที่เรียนน้อย
1
4
2. ความเรียบร้อย
ผลงานสะอาดเรียบร้อย มีการตกแต่งสวยงาม
ผลงานสะอาดเรียบร้อย มีการตกแต่ง
ผลงานสะอาดเรียบร้อย มีการตกแต่งบ้างเล็กน้อย
ผลงานสะอาดเรียบร้อย ไม่มีการตกแต่ง
1
4
3. ความคิดสร้างสรรค์
เป็นชิ้นงานที่แปลกใหม่ ไม่เหมือนตัวอย่าง
เป็นชิ้นงานที่แปลกใหม่ แต่มีบางส่วนคล้ายกับตัวอย่าง
เป็นชิ้นงานที่ปรับปรุง ดัดแปลงเล็กน้อยจากตัวอย่าง
เป็นชิ้นงานที่เหมือนตัวอย่าง
1
4
4. การนำเสนอ
พูดอย่างมั่นใจ พูดด้วยน้ำเสียงเหมาะกับบทที่พูดแสดงท่าทางประกอบ
พูดด้วยน้ำเสียงเหมาะแต่แสดงท่าทางประกอบน้อย
พูดไม่เป็นธรรมชาติ ขาดความน่าสนใจ แสดงท่าทางประกอบ การพูดน้อยมาก
พูดได้น้อยมาก ไม่มีท่าทางประกอบการพูดเลย
1
4
คะแนนรวม
16


เกณฑ์การประเมิน/ระดับคุณภาพ
คะแนน                 13 – 16                  หมายถึง                                ดีมาก     
คะแนน                 9 – 12                    หมายถึง                                ดี                            
คะแนน                 5 – 8                      หมายถึง                                พอใช้
คะแนน                 0 – 4                      หมายถึง                                ปรับปรุง               
เกณฑ์การผ่าน
ได้ระดับคุณภาพพอใช้ขึ้นไป