วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

แผนการสอน 1 ชั่วโมง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์                                                   รายวิชา วิทยาศาสตร์ ( ว14101 )
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4                     ภาคเรียนที่ 2                   ปีการศึกษา 2553
ชื่อหน่วยการเรียนรู้  การดำรงชีวิตของพืช  เรื่อง โครงสร้างภายนอกของพืช    เวลา 2 ชั่วโมง
ชื่อครูผู้สอน  นางสาวภูมิใจ     กลับมา   โรงเรียนบ้านปัวศรีพรม
…………………………………………………………………
มาตรฐานการเรียนรู้
              มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต

ตัวชี้วัด
                1.1 ป.4/1   ทดลองและอธิบายหน้าที่ ของท่อลำเลียงและปากใบของพืช

สาระสำคัญ
                โครงสร้างภายนอกของพืช หน้าที่ ความสำคัญของส่วนประกอบพืช

จุดประสงค์
                1.   นักเรียนสามารถบอกโครงสร้างภายนอกของพืชได้
                2.   นักเรียนสามารถบอกหน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของพืชได้
                3.   นักเรียนสามารถวาดภาพ และเขียนอธิบายโครงสร้างภายนอกของพืชได้
                4.   นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้ ช่างสังเกต

สาระการเรียนรู้
                1.  ความรู้
                                พืชมีโครงสร้างภายนอก  ได้แก่ ราก ลำต้น กิ่ง ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งแต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่จะสัมพันธ์กันเป็นระบบ
                2.  ด้านทักษะกระบวนการ
                1)    ทักษะการสังเกต
                2)    ทักษะการอภิปราย
                3)    ทักษะการวาดภาพและระบายสี

กิจกรรมการเรียนรู้  ( ใช้รูปแบบการสอน CIPPA MODEL ) 
ขั้นนำ  5  นาที
ขั้นที่  1  ทบทวนความรู้เดิม
ครูนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียนโดยสอน  สอนร้องเพลง กิ่ง ก้าน ใบ
เพลง กิ่ง ก้าน ใบ
กิ่ง  ก้าน  ใบ ชะ           ชะ ใบก้านกิ่ง  (ซ้ำ )
ฝนตกลมแรงจริงๆ                 ชะ ชะ  กิ่งก้านใบ
จากนั้นครูจึงถามคำถาม เพื่อทบทวนความรู้เดิม
                คำถาม  จากเพลงที่ฟังนักเรียนคิดว่ามันจะเกี่ยวกับอะไร
ตอบ ส่วนประกอบของพืช
คำถาม โครงสร้างภายนอกของพืช มีอะไรบ้าง
ตอบ กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล เมล็ด ลำต้น
เป็นต้น
หลังจากทบทวนความรู้เดิมพอสมควรแล้ว จึงแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน “สำหรับวันนี้ครูจะพาไปรู้จักกับโครงสร้างภายนอก และหน้าที่ของพืช”

ขั้นสอน 40 นาที
ขั้นที่ 2  แสวงหาความรู้ใหม่
แบ่งกลุ่มนักเรียน  กลุ่มละ 6 -7 คน ช่วยกันต่อภาพต้นไม้ โดยนำภาพส่วนประกอบของต้นไม้   ตัดเป็นชิ้นส่วน แล้วนำมาประกอบกัน จนกระทั่งกลายเป็นภาพโครงสร้างต้นไม้ที่สมบูรณ์แบบ


ขั้นที่ 3  การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล / ความรู้ใหม่และเชื่อมความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
 ครูอธิบายโครงสร้างภายนอกของพืช ให้นักเรียนฟัง จากนั้นให้นักเรียนทำใบงานชิ้นที่ 1 พอเสร็จแล้วให้นักเรียนช่วยกันสำรวจต้นไม้ และพืชโดยเลือกมากลุ่มละ  1  ชนิด  จากนั้นให้นักเรียนสังเกตว่าต้นไม้มีโครงสร้างภายนอกอะไรบ้าง  บันทึกผลโดยการวาดภาพและเขียนเส้นชี้ระบุโครงสร้างภายนอกของพืช
 ครูนำต้นกระสังมาให้นักเรียนดู จากนั้นทำการสาธิต เรื่อง การดูดน้ำของราก โดยนำต้นกระสังแช่ไว้ในน้ำสี จากนั้น ให้นักเรียนสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อนำเข้าสู่การอธิบายหน้าที่โครงสร้างของพืช
-   ครูอธิบายในส่วนของหน้าที่โครงสร้างของพืช   โดยที่
ราก        ทำหน้าที่               ลำเลียงแร่ธาตุ  น้ำ  และ  อาหารไปยังส่วนต่างๆของพืช 
                                                นอกจากนี้ยังทำหน้าที่  ในการยึดลำต้น
ลำต้น     ทำหน้าที่               ลำเลียงธาตุอาหารและน้ำต่อจากราก  เพื่อไปยังส่วนต่างๆของพืช
ใบ          ทำหน้าที่               สร้างอาหาร  คายน้ำ  และสังเคราะห์แสง
ดอก       ทำหน้าที่               ล่อแมลง
ผล          ทำหน้าที่               ห่อหุ้มเมล็ด
เมล็ด      ทำหน้าที่               ขยายพันธุ์

ขั้นที่ 4  ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้  ความเข้าใจกับกลุ่ม
-                   ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการสำรวจ  และภาพวาด  หน้าชั้นเรียน
-                   ให้นักเรียนอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างภายนอกของพืช  โดยครูถามคำถามดังต่อไปนี้
คำถาม
-                   บริเวณที่สำรวจมีต้นไม้ชนิดใดบ้าง
-                   ต้นไม้แต่ละชนิดมีโครงสร้างภายนอกเหมือนกันหรือไม่
-                   ต้นไม้แต่ละชนิดมีโครงสร้างภายนอก  ได้แก่อะไรบ้าง  และมีหน้าที่อะไร
จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับพืช  มีโครงสร้างภายนอก  ได้แก่  ราก  ใบ  ลำต้น  ดอก  ผล  และเมล็ด

ขั้นสรุป 5 นาที
                ขั้นที่ 5  ขั้นสรุปและจัดระเบียบความรู้
                นักเรียนและครูร่วมกันสรุป  และอธิบายเนื้อหาที่เรียนไป 

ขั้นที่ 6 การปฏิบัติและ/หรือการแสดงผลงาน
ให้นักเรียนนำผลงานมาติดแสดงหน้าห้องเรียน

ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
นักเรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ส่วนประกอบต่างๆของพืชบอกกับบุคคลอื่นๆได้ เช่น
นำเมล็ดพันธุ์ของพืชบางชนิดไปขยายพันธุ์พืชได้   

สื่อ อุปกรณ์
                สื่อ
                                1.   ภาพต่อโครงสร้างภายนอกของพืช
                                2.   รูปภาพโครงสร้างของพืช
                อุปกรณ์
                                1.   ต้นกระสัง     1   ต้น
                                2.   สีผสมอาหารสีใดก็ได้
                                3.   แก้วน้ำ           1  ใบ
                                4.   น้ำ                   1   แก้ว

ชิ้นงาน
                1.   ใบงานที่ 1  เรื่อง โครงสร้างภายนอกของพืช
                2.   ใบงานที่ 2  เรื่อง ต้นไม้ของฉัน

ประเมินผล

รายการประเมิน
วิธีการประเมิน
เครื่องมือการประเมิน
1.   นักเรียนสามารถบอกโครงสร้างภายนอกของพืชได้
2.   นักเรียนสามารถบอกหน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของพืชได้
3.   นักเรียนสามารถวาดภาพ และเขียนอธิบายโครงสร้างภายนอกของพืชได้
4.   นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้ ช่างสังเกต
1.   ตรวจใบงานที่ 1 โครงสร้างภายนอกของพืช
2.   ตรวจใบงานที่ 2 ต้นไม้ของฉัน
3   สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1.   ใบงานที่ 1 โครงสร้างภายนอกของพืช
2.   ใบงานที่ 2 ต้นไม้ของฉัน
3.   แบบบันทึกการสังเกต


เกณฑ์การประเมิน
เกณฑ์การประเมินใบงานที่ 1 เรื่องโครงสร้างภายนอกของพืช


รายการประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
4
3
2
1
บอกโครงสร้างภายนอกของพืชได้
นักเรียนสามารถสร้างภายนอกของพืชได้ครบ 7 อย่าง
นักเรียนสามารถบอกโครงสร้างภายนอกของพืช ได้ตั้งแต่ 5-6 อย่าง
นักเรียนสามารถบอกโครงสร้างภายนอกของพืชได้ตั้งแต่ 3-4 อย่าง
นักเรียนสามารถบอกโครงสร้างภายนอกของพืชได้น้อยกว่า 3 อย่าง


เกณฑ์การประเมิน/ระดับคุณภาพ
                                คะแนน                 4            หมายถึง                ดีมาก
                คะแนน                 3            หมายถึง                ดี
                คะแนน                 2            หมายถึง                พอใช้
                คะแนน                 1            หมายถึง                ปรับปรุง
เกณฑ์การผ่าน
ได้ระดับคุณภาพพอใช้ขึ้นไป

 
เกณฑ์การประเมินใบงานที่ 2 ต้นไม้ของฉันและภาระงาน การพูดนำเสนอผลงาน


ประเด็น
การประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
น้ำหนัก
รวมคะแนน
4
3
2
1
1. ความสมบูรณ์ของชิ้นงาน
ชิ้นงานมีรายละเอียดครอบคลุมเนื้อหาที่เรียนสมบูรณ์
ชิ้นงานมีรายละเอียดครอบคลุมเนื้อหาที่เรียนเป็นส่วนใหญ่
ชิ้นงานมีรายละเอียดครอบคลุมเนื้อหาที่เรียนพอสมควร
ชิ้นงานมีรายละเอียดครอบคลุมเนื้อหาที่เรียนน้อย
1
4
2. ความเรียบร้อย
ผลงานสะอาดเรียบร้อย มีการตกแต่งสวยงาม
ผลงานสะอาดเรียบร้อย มีการตกแต่ง
ผลงานสะอาดเรียบร้อย มีการตกแต่งบ้างเล็กน้อย
ผลงานสะอาดเรียบร้อย ไม่มีการตกแต่ง
1
4
3. ความคิดสร้างสรรค์
เป็นชิ้นงานที่แปลกใหม่ ไม่เหมือนตัวอย่าง
เป็นชิ้นงานที่แปลกใหม่ แต่มีบางส่วนคล้ายกับตัวอย่าง
เป็นชิ้นงานที่ปรับปรุง ดัดแปลงเล็กน้อยจากตัวอย่าง
เป็นชิ้นงานที่เหมือนตัวอย่าง
1
4
4. การนำเสนอ
พูดอย่างมั่นใจ พูดด้วยน้ำเสียงเหมาะกับบทที่พูดแสดงท่าทางประกอบ
พูดด้วยน้ำเสียงเหมาะแต่แสดงท่าทางประกอบน้อย
พูดไม่เป็นธรรมชาติ ขาดความน่าสนใจ แสดงท่าทางประกอบ การพูดน้อยมาก
พูดได้น้อยมาก ไม่มีท่าทางประกอบการพูดเลย
1
4
คะแนนรวม
16


เกณฑ์การประเมิน/ระดับคุณภาพ
คะแนน                 13 – 16                  หมายถึง                                ดีมาก     
คะแนน                 9 – 12                    หมายถึง                                ดี                            
คะแนน                 5 – 8                      หมายถึง                                พอใช้
คะแนน                 0 – 4                      หมายถึง                                ปรับปรุง               
เกณฑ์การผ่าน
ได้ระดับคุณภาพพอใช้ขึ้นไป

2 ความคิดเห็น:

  1. ตอนนั้นเรียน ป.บัณฑิต ค่ะ ปี 53 ใบงานหายไปกับ ฮาร์ดดิสโน๊ตบุคเครื่องเก่าแล้วค่ะ ขอโทษด้วยนะคะ

    ตอบลบ